Please note ThinkMarkets does not provide CFD services to residents of the US.

Please note ThinkMarkets does not provide CFD services to residents of the US.

การค้าขาย
 
การค้าขาย

เทรดวันนี้ - เข้าร่วมกับเทรดเดอร์หลายพันรายที่เลือกใช้โบรกเกอร์ที่ให้บริการบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เจ้าแรก

สร้างบัญชี
เรียนรู้การซื้อขาย
 
เรียนรู้พื้นฐานของการซื้อขายฟอเร็กซ์

ความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

เรียนรู้วิธีการทำงานของการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์

คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
สัมมนาออนไลน์

เทรดเดอร์ทุกคนตั้งแต่มือใหม่จนถึงผู้เชี่ยวชาญจำเป็นต้องรู้คำศัพท์ทางเทคนิคจำนวนมาก ให้เราช่วยแนะนำคุณ

Learn More
คลังคู่มือซื้อขาย

ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์ระดับใด ให้ดาวน์โหลดคู่มือการเทรดฟรีของเราแล้วพัฒนาทักษะของคุณ

เรียนรู้เพิ่มเติม
เรียนรู้การซื้อขาย

เทรดอย่างชาญฉลาด: ยกระดับทักษะของคุณด้วยทรัพยากรการฝึกอบรมของเรา

สร้างบัญชี
วิเคราะห์การตลาด
 
ปฏิทินเศรษฐกิจ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรู้ทันความเคลื่อนไหวทุกครั้งในตลาดด้วยปฏิทินเศรษฐกิจที่อัพเดตอย่างต่อเนื่องของเรา

เรียนรู้เพิ่มเติม
การวิเคราะห์ทางเทคนิค

ใช้ข้อมูลที่ผ่านมาในตลาดเพื่อคาดการณ์ทิศทางราคาและทำนายความเคลื่อนไหวในตลาด

เรียนรู้เพิ่มเติม
วิเคราะห์การตลาด

ใช้ความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลตลาดที่คุณต้องการเพื่อสร้างกลยุทธ์การเทรดของคุณ

สร้างบัญชี
พันธมิตร
 
โปรแกรมพันธมิตร

สร้างความเติบโตให้ธุรกิจของคุณและรับผลตอบแทน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมพันธมิตร

เรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดการเงิน

เพิ่มรายได้ของคุณแล้วรับค่าตอบแทนจากความรู้ในการเทรดของคุณด้วย ThinkInvest ที่ให้คุณสามารถตัดสินใจได้เอง

เรียนรู้เพิ่มเติม
แนะนำโบรกเกอร์

ThinkMarkets ตรวจสอบให้มั่นใจว่าระดับความพึงพอใจของลูกค้าอยู่ในระดับสูงด้วยอัตราการแปลงเป็นลูกค้าและอัตราการรักษาลูกค้าในระดับสูง

เรียนรู้เพิ่มเติม
Proprietary Trading

ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับเราเพื่อสร้างธุรกิจ Prop Trading ของคุณเอง สามารถสอบถามกับผู้จัดการบัญชีได้แล้ววันนี้

ดูข้อมูลเพิ่มเติม
White Label

เรามอบทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อสร้างแบรนด์ของคุณในอุตสาหกรรม Forex

เรียนรู้เพิ่มเติม
ตัวแทนประจำภูมิภาค

เป็นพาร์ทเนอร์กับ ThinkMarkets วันนี้เพื่อเข้าใช้บริการที่ปรึกษาและสื่อส่งเสริมการขายที่ครบครันตามงบประมาณของคุณเอง

เรียนรู้เพิ่มเติม
แนะนำเพื่อน

รับ $50 สำหรับคุณและเพื่อนของคุณ เมื่อคุณเปลี่ยนพวกเขาให้เป็นเทรดเดอร์ที่นี่กับ ThinkMarkets

เรียนรู้เพิ่มเติม
พันธมิตร

เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มยุคใหม่และการเทรดที่ลูกค้าของคุณต้องการ

พอร์ทัลพันธมิตร
เกี่ยวกับเรา ThinkMarkets
 
เกี่ยวกับเรา

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ThinkMarkets โบรกเกอร์ระดับโลกที่เป็นที่ยอมรับและได้รับรางวัลมากมายซึ่งคุณสามารถเชื่อถือได้

เรียนรู้เพิ่มเติม
ข่าว ThinkMarkets

ไม่ตกข่าวด้วยการประกาศข้อมูลและข่าวล่าสุดจากบริษัทของเรา

เรียนรู้เพิ่มเติม
โครงสร้างพื้นฐานในการซื้อขาย

เมื่อเป็นเรื่องความเร็วที่เราทำการเทรดของคุณ เราทุ่มไม่อั้นเพื่อมอบสิ่งดีๆ ให้คุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติม

เรียนรู้เพิ่มเติม
ติดต่อเรา

ทีมสนับสนุนหลากหลายภาษาของเราจะอยู่ที่นี่เพื่อคุณ 24 ช.ม. ตลอด 7 วัน

เรียนรู้เพิ่มเติม
เกี่ยวกับเรา ThinkMarkets

ความเชี่ยวชาญสำหรับท้องถิ่นในทั่วทุกมุมโลก - พบกับสิ่งที่ทำให้เราพิเศษกว่าที่อื่น

สร้างบัญชี
ล็อคอิน สร้างบัญชี

Margin Call ในการซื้อขายฟอเร็กซ์คืออะไร?
คำอธิบายที่ครอบคลุมสำหรับมาร์จิน

Margin call (มาร์จิ้นคอล) เป็นคำศัพท์ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่เข้าสู่การเทรดแบบมีเลเวอเรจอย่างเช่นตลาดฟอเร็กซ์คงต้องเคยได้ยินมา หากคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับการ Margin call (มาร์จิ้นคอล) แต่ยังไม่ทราบความหมายของมัน บทความนี่จะช่วยให้คุณเข้าใจมันมากขึ้น คุณจะเข้าใจตั้งแต่ความหมายของ Margin call (มาร์จิ้นคอล) Used Margin (ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น) & Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้) และ วิธีการทำงานของมัน บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ Margin (มาร์จิ้น) ทุกรูปแบบ และการทำงานของมันในโลกของการเทรดมากขึ้น

ในบทความนี้ เราจะอธิบายฅั้งแฅ่การทำงานพื้นฐานของมาร์จิ้นโดยการรู้ว่า Margin Call คืออะไร แต่ละประเภทของ Margin วิธีแยกความแตกต่างระหว่าง Used Margin (ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น) และ Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้) Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) คำนวนได้อย่างไร และ เทรดเดอ์จะหลีกเลี่ยง Margin call (มาร์จิ้นคอล) ได้อย่างไร แม้ว่าระบบ Margin จะเป็นแนวคิดที่ซับซ้อน แต่เราจะพยายามอธิบายด้วยวิธีที่เรียบง่ายกว่าและเข้าใจง่ายสำหรับคุณ

ในระหว่างนี้ เทรดเดอร์มือใหม่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเทรดด้วยมาร์จิ้นและเลเวอเรจ ทางเรามีบทความ เลเวอเรจ & มาร์จิ้น บนหน้าเว็บทางการของเรา เพื่อให้คุณเข้าใจบทความนี้ ได้ง่ายขึ้น

 

1. Margin Call (มาร์จิ้นคอล) คืออะไร?

ในการเทรดฟอเร็กซ์ Margin call (มาร์จิ้นคอล) เป็นคำที่อธิบายเงื่อนไขเมื่อที่มูลค่าสุทธิ (Account Equity + Floating Profit/Loss) ในบัญชีของเราอยู่ต่ำกว่าระดับมาร์จิ้นขั้นต่ำ ที่จำเป็นในการดำรงตำแหน่งเทรดปัจจุบัน


เมื่อเปอร์เซ็นต์ของระดับมาร์จิ้นต่ำกว่ามาร์จิ้นขั้นต่ำที่โบรกเกอร์กำหนด โบรกเกอร์จะเริ่มการ Margin call (มาร์จิ้นคอล) ซึ่งเทรดเดอร์จะต้องตัดสินใจว่าจะปิดสถานะการเทรดอันไหน เพื่อจะลดมาร์จิ้นที่ใช้ไป หรือ จะฝากเงินเพิ่มเติมเพื่อเพิ่ม Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้) ส่วนของบัญชี


หากเทรดเดอร์ไม่สามารถเพิ่มเติม Equity (สินทรัพย์สุทธิ) หรือ ไม่สามารถปิดสถานะการเทรดบางรายการได้ โบรกเกอร์จะต้องทำการ Liquidation (ชำระบัญชี)

Liquidation (ชำระบัญชี/ล้างพอร์ต) คือการที่ทางโบรกเกอร์จะเริ่มปิดเทรดจากออเดอร์ที่ติดลบมากที่สุดก่อนจนกว่า Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อให้แน่ใจว่าการขาดทุนในบัญชีนั้นสามารถ ได้รับการคุ้มครองด้วยเงินในบัญชีของเทรดเดอร์เพื่อป้องกันการสูญเสียเพิ่มเติมกับบัญชีของเทรดเดอร์กับเงินทุนของโบรกเกอร์


แต่ล่ะโบรกเกอร์จะมีระดับ Margin Call (มาร์จิ้นคอล) ที่แตกต่างกันไปโดยส่วนมากจะอยู่ในระดับระหว่าง 25% - 100%, จากโบรกเกอร์ ThinkMarkets ใช้ระดับ Margin Call (มาร์จิ้นคอล) อยู่ที่ 100% ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่มากเกินไปว่ามันจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่น้อยเกินไปที่โบรกเกอร์จะเสี่ยงต่อการขาดทุน

หากต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของการ Margin Call (มาร์จิ้นคอล) เราต้องรู้เกี่ยวกับตรรกะเบื้องหลังของ Margin (มาร์จิ้น) กันก่อน ในย่อหน้าถัดไป เราจะแนะนำประเภทของมาร์จิ้นให้กับคุณ เพื่อที่คุณจะได้มีแนวคิดโดยย่อเกี่ยวกับมาร์จิ้นที่เราพูดถึงในบทความของเรา


 

2. มาร์จิ้นมีอยู่กี่ประเภท?

ก่อนที่เราจะเขาสู่หัวข้อของ Margin call เทรดเดอร์จำเป็นที่ต้องเข้าใจฟังก์ชันที่แตกต่างกันของหลักประกันทั้งสองประเภท ซึ่งก็คือ
 

  1. Used Margin (ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น)
  2. Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้)

 

เนื่องจากการทำความเข้าใจการคำนวณจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถประมาณระดับมาร์จิ้นและช่วยเทรดเดอร์จัดการความเสี่ยงเมื่อเทรดเดอร์เทรดด้วยตัวเองได้แม่นยำขึ้นแน่นอน

 

 

3. Used Margin (ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น) คืออะไร?

"Used Margin" หรือ "ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น" เป็นส่วนของทุน (Equity) ที่เทรดเดอร์มีอยู่ในบัญชีการซื้อขายของตนที่ถูกใช้เป็นหลักประกันสำหรับการเปิดทำเทรด Used Margin นี้จะได้รับผลกระทบจากเลเวอเรจและขนาดของสัญญาการซื้อขาย สามารถคำนวณได้ตามสูตรดังนี้:
 
สูตรมาร์จิ้นส
 
ตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์เปิดการเทรดที่มูลค่า $100,000 ด้วยเลเวอเรจ 1:200 ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้นสามารถคำนวณได้ตามที่แสดงด้านล่าง

การคํานวณมาร์จิ้นที่ใช้
 
อย่างที่ท่านเห็นยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้นเพื่อเปิดเทรดนี่จะอยู่ที่ $500 และเงินจำนวนนี่จะถูกเอามาเป็นหลักประกันสำหรับการเปิดเทรดที่มีมูลค่า $100,000

ซื้อขายเงินตราต่างประเทศเดี๋ยวนี้

4. Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้) คืออะไร?

Free Margin คือจำนวนเงินในบัญชีของเทรดเดอร์ซึ่งไม่ได้เชื่อมโยงกับสถานะการเทรดใดๆ และสามารถคำนวณโดย
 

สูตรมาร์จิ้นที่ใช้งานได้


ในตัวอย่างนี้ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิในบัญชีของเทรดเดอร์อยู่ที่ $10,000 และผู้ซื้อขายเปิดสถานะการเทรดที่มีมูลค่าอยู่ที่ $100,000 พร้อมด้วยเลเวอเรจ 1:200 Used Margin (ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น) จะเป็น $500 ตามที่คำนวณไว้ก่อนหน้านี้ Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้) ที่เหลืออยู่ในบัญชีสามารถคำนวณได้ตามนี้

 

การคำนวณมาร์จิ้นที่ใช้งานได้

Free Margin (มาร์จิ้นที่ใช้งานได้) ที่เหลือนี้สามารถปล่อยไว้ตามลำพังเพื่อรักษาระดับมาร์จิ้นของบัญชี หรือใช้เพื่อเปิดสถานะการเทรดใหม่ตามกลยุทธ์ของเทรดเดอร์
 
ตัวชี้วัดของส่วนต่างบัญชี

Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) เป็นตัวบ่งชี้ว่า Equity (สินทรัพย์สุทธิ) ในบัญชีถูกผูกไว้กับออเดอร์เทรดไว้ในตลาดมากเท่าใหร่ ซึ่งเราจะอทิบายให้กระจ่างในหัวข้อถัดไป


 

5. Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) คืออะไร?

ตามที่เราได้เกริ่นก่อนหน้านี้ว่า Margin Level หรือ ระดับมาร์จิ้น นั้นเป็นตัวบ่งชี้ของอัตตราส่วนว่า Equity (สินทรัพย์สุทธิ) ของบัญชีเทรดเดอร์นั้นเป็นกี่เท่าของ Used Margin (ยอดเงินที่ใช้เป็นมาร์จิ้น) Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) นั้นสามารถคำนวนเป็นเปอร์เซ็นต์ตามสูตรคำนวนด้านล่างได้เลย
 
สูตรระดับมาร์จิ้น 
 
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้เราสามารถคำนวนด้วยสูตร Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) ตามการคำนวนด้านล่าง
 
การคำนวณระดับมาร์จิ้น
 
จากสูตรการคำนวนเราก็จะได้ Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) อยู่ที่ 2000% ซึ่งหมายอัตตราส่วนของ สินทรัพย์สุทธิเทียบกับยอดเงินที่ถูกใช้เป็นมาร์จิ้นเป็นอยู่ที่ 20 เท่า ซึ่ง Margin Level ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประมาณการว่าพอร์ตโฟลิโอของเทรดเดอร์เหลือความยื่ดหยุ่นมากแค่ไหน

 

6. ระดับมาร์จิ้นที่ปลอดภัยควรอยู่ที่เท่าไหร?

ตอนนี้เราได้ครอบคลุมหัวข้อ Margin Call (มาร์จิ้นคอล) แล้ว มาเรียนรู้กันต่อว่าเทรดเดอร์สามารถป้องกันไม่ให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์นี้ได้อย่างไร เนื่องจากเราทุกคนรู้ดีว่ากันไว้ดีกว่าแก้ ดังนั้นเรามาเรียนรู้วิธีปกป้องบัญชีของเราจากการถูก Margin Call (มาร์จิ้นคอล) กัน
 
นี่คือตัวอย่างของสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในการซื้อขายจริงซึ่งอาจทำให้เกิดการ Margin Call (มาร์จิ้นคอล) ได้
 
สถานการณ์การเรียกหลักประกัน
 
ในตัวอย่างนี้ เราเห็นว่าบัญชีตัวอย่างก่อนหน้านี้เกิดการขาดทุนหนักซึ่งทำให้มูลค่าของ Equity (สินทรัพย์สุทธิ) ลดลงมาอยู่ในระดับที่ถูก Margin Call (มาร์จิ้นคอล) ได้ จากสูตรคำนวนก่อนหน้านี้เราสามารถคำนวน Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) ของบัญชี ณ ขณะนี้ได้
 
การคำนวณระดับมาร์จิ้น

อย่างที่เห็นเมือเรานำส่วนที่ขาดทุนมาคิดรวมกับ Equity (สินทรัพย์สุทธิ) เทรดเดอร์จะพบว่า Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) นั้นตกลงมาต่ำกว่าที่ 100% แล้ว ซึ่งจะโดน Margin (มาร์จิ้นคอล) แน่นอนและอาจจะลามไปถึงการ Liquidation (ชำระบัญชี/ล้างพอร์ต) ได้
 
แล้วเราจะป้องกันไม่ให้เราตกอยู่ในสถานการณ์นี้ได้อย่างไร?
 

6.1 เทรดโดยมีจุดตัดขาดทุน

อย่างแรกเลยคือการมี Stop Loss (จุดตัดขาดทุน) ไม่ว่าจะเป็นการ กดปิดออเดอร์เอง (ปิดมือ) ที่ระดับที่เราวางแผนไว้ หรือ จะตั้ง Stop Loss ให้เทรดปิดเองอัตโนมัติ ทั้งสองวิธีเป็นป้องกันไม่ให้เงินทุนของเทรดเดอร์เสียหายหนักจากการถือและปล่อยให่ออเดอร์ที่ขาดทุนลากจนเงินในพอร์ทท่านหมด

 

6.2 รู้ว่าเทรดเดอร์ยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน

อย่างที่สองคือการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ท่านสามารถยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์จะเสี่ยง 2% ของพอร์ตโฟลิโอของเทรดเดอร์ต่อการเทรด เทรดเดอร์สามารถคำนวณขนาดล็อตของคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์ก่อนที่จะเข้าสู่การซื้อขายเพื่อรักษาผลกำไรและขาดทุนของเทรดเดอร์ให้คงที่

 
การบริหารความเสี่ยงในตำแหน่ง
 
ตามภาพด้านบนอย่างที่เทรดเดอร์เห็นออเดอร์เทรดทั้งคู่มีมีจำนวน Pip ที่ค่อนค่างแตกต่างกัน ในจุดทำกำไร & จุดตัดขาดทุน
 
แต่เทรดเดอร์ก็สามารถใช้ Lot Size ที่ต่างกันเพื่อให้จำนวนกำไรและขาดทุนมีขนาดที่เท่ากัน ถึงเทรดเดอร์บางท่านอาจจะบอกว่าท่านต้องการกำไรที่สูงและการขาดทุนที่ต่ำ แต่ท่านต้องมองในมุมกลับด้วยว่ามันก็จะมีครั้งที่ท่านเสียหายหนักและได้กำไรเพียงนิดเดียวซึ่งจะไม่สามารถครอบคลุมการเสียหายก่อนหน้าได้


6.3 รักษาระดับมาร์จิ้นให้อยู่ในระดับที่ดี

Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) ที่ถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยควรเหลือสูงกว่าประมาณ 150 - 200% เนื่องจากมีระดับการรองรับก่อนที่จะตกลงไปสู่ระดับ Margin Call (มาร์จิ้นคอล)


ในการเทรดท่านอาจจะโชคดีครั้งสองครั้งได้ แต่ถ้าท่านไม่มีการควบคุมความเสี่ยงที่ดี และ ระบบเทรดที่คงที่ ใช้เวลาไม่นานที่ท่านจะคืนกำไรกลับสู่ตลาดพร้อมกับขาดทุนเพิ่มเติมด้วย

 
ดังนั้น การมี Stop Loss (จุดตัดขาดทุน) มีความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อการซื้อขาย และไม่เทรดด้วยขนาดออเดอร์ที่ใหญ่มากเกินไป (Overtrade) เทรดเดอร์จะสามารถรักษา Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) ที่สูงได้อย่างง่ายดาย

 

7. บทสรุป

Margin Call (มาร์จิ้นคอล) จะเกิดขึ้นเมื่อ Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) ตกลงไปต่ำกว่าระดับที่โบรกเกอร์กำหนด, ที่ ThinkMarkets ระดับ Margin Call level ถูกตั้งไว้ที่ 100% เพื่อดำรงตำแหน่งการเทรดปัจจุบัน (มาร์จิ้นที่ใช้)
 
เมื่อทุนรวม (Net Equity) ต้ำกว่าเวลา Margin Call (มาร์จิ้นคอล) เกิดขึ้นทางโบรกเกอร์จะแจ้งให้เทรดเดอร์ปิดสถานะบางสถานะ  หรือ เพิ่ม Equity (สินทรัพย์สุทธิ) เพิ่มเติมมิฉะนั้นนั้นโบรกเกอร์จะต้อง Liquidate (ชำระบัญชี/ ล้างพอร์ต) สถานะการเทรดที่เปิดอยู่โดยเริ่มจากตำแหน่งที่ขาดทุนมากที่สุดจนกว่ามาร์จิ้นจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า Margin Call (มาร์จิ้นคอล) ได้อีกครั้ง
 
อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถป้องกันตัวเองจากการโดน Margin Call (มาร์จิ้นคอล) ได้โดยใช้ Stop loss เพื่อป้องกันการเสียหายหนัก มีการบริหารความเสี่ยงที่ระบบท่านกำหนดไว้ และ ไม่เทรดด้วยขนาดออเดอร์ที่ใหญ่มากเกินไป (Overtrade) และ เทรดตามระบบการเทรดของท่าน
 
หากเทรดเดอร์นำแนวทางในบทความไปประสมประสานกับระบบเทรดขอนท่าน เทรดเดอร์จะสามารถรักษาระดับมาร์จิ้นที่ปลอดภัยอยู่ที่ประมาณ 150% หรือสูงกว่านั้นได้อย่างสบายๆ การที่มี Margin Level (ระดับมาร์จิ้น) อยู่ในระดับที่ปลอดภัยที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของบัญชีเทรดของท่านและป้องกันการโดนล้างพอร์ตได้
 

ความคิดเห็น ข่าวสาร การวิจัย การวิเคราะห์ ราคา หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มีอยู่บนเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อแสดงความคิดเห็นทั่วไปในตลาด และไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน ทาง ThinkMarkets จะไม่รับผิดต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ รวมถึงการสูญเสียกำไรใดๆที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยทางอ้อมจากการใช้หรือการพึ่งพาข้อมูลดังกล่าว
Back to top