การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน (Fundamental Analysis) จะพยายามหามูลค่าของบริษัทโดยการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินจากรายงานประจำปีและการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพอื่น ๆ เกี่ยวกับบริษัทและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
ค่านี้มักถูกเรียกว่า 'มูลค่าที่แท้จริง' (Intrinsic Value) การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานจะสันนิษฐานว่า ในระยะยาว ราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานสามารถตรวจสอบเศรษฐกิจได้ทั้งระบบ – การตรวจสอบของอุตสาหกรรม หรือของแต่ละองค์กร การรวมกันของข้อมูลนี้สามารถช่วยให้คุณหาได้ว่าหุ้นมีมูลค่าต่ำหรือสูงเกินไป และอาจช่วยให้คุณสามารถหามูลค่าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตของหุ้นได้
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงปริมาณ
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) หมายถึงการใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ตลาดและการลงทุน นักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณจะใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันไป เช่น ความน่าจะเป็น ทฤษฎีเกม สถิติ และแคลคูลัส แต่ไม่ว่าจะวิธีไหน เป้าหมายก็คือการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่จำลองพฤติกรรมและผลลัพธ์ในโลกแห่งความเป็นจริง
ผู้จัดการกองทุนอาจใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนขนาดใหญ่ เทรดเดอร์สามารถใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อหาเวลาที่เหมาะแก่การซื้อและขายหลักทรัพย์ ตราสารสิทธิ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่สุด นักลงทุนอื่น ๆ อาจหาซื้อและถือหลักทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
ตัวอย่างของการวิเคราะห์เชิงปริมาณคือการคำนวณเพื่อหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ จุดคุ้มทุน กำไรต่อหุ้น และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น การซื้อขายแบบอัลกอริทึมและการทดสอบภาวะวิกฤติของพอร์ตการลงทุนก็อาจถือว่าเป็นประเภทของการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้เช่นกัน แม้การวิเคราะห์เชิงปริมาณอาจจะเป็นวิธีที่ดีในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน นักลงทุนก็สามารถใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนโดยใช้ร่วมกับประสบการณ์ส่วนตัวของตนด้วยก็ได้
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) ใช้เกณฑ์การตัดสินเชิงอัตนัย (Subjective Judgement) ซึ่งบอกถึงการศึกษาที่ไม่ใช่ทางคณิตศาสตร์ที่นักลงทุนและผู้จัดการธุรกิจใช้กันเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนและทางธุรกิจ การจะเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพอาจต้องใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากคุณจะต้องรู้วิธีการดำเนินธุรกิจ นักลงทุนบางรายเชื่อว่าการประเมินเชิงอัตนัยเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ ความน่าเชื่อถือ และทักษะทางธุรกิจในการบริหารจัดการบริษัทนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตัดสินว่าบริษัทนั้นเป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่.
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพยังรวมถึงการตรวจติดตามพนักงานของบริษัทเพื่อให้คะแนนความกระตือรือร้นของพวกเขา เช่นการสอบถามผู้ที่ขายของให้บริษัทว่าทำงานให้พวกเขาเป็นอย่างไรบ้างและสังเกตดูว่าสาธารณชนมองบริษัทอย่างชื่นชอบหรือไม่ นักลงทุนสามารถใช้ได้ทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการซื้อขาย ซึ่งการวิเคราะห์เชิงคุณภาพก็คือการตรวจสอบตัวเลขที่หามาได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ